SDG Info 2024 2023 2022

13

Project

5

Division

ผู้สูงอายุในหมู่บ้านสร้อย ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีฐานะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา แต่ประสบปัญหาน้ำท่วมหรือฝนแล้ง ทำให้ผลผลิตตกต่ำ รวมทั้งต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้สารเคมีปราบศตรูพืชทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จากข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมการศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ และมีรายได้ส่วนใหญ่จากเบี้ยยังชีพ ดังนั้นการเร่งสนับสนุนพัฒนาอาชีพ และการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนได้แก่ การทำการเกษตร การเย็บเสื้อผ้า จักสาน นวดแผนโบราณ การทำสมุนไพร เป็นต้น ด้านสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง เป็นต้น ซึ่งมักนำมาซึ่งภาวะทุพลภาพ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องการบริการดูแลแบบต่อเนื่องในขณะที่ศักยภาพของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลง จากขนาดครัวเรือนที่ลดลง การเคลื่อนย้ายของวัยแรงงานจากชนบทสู่เมือง สตรีมีบทบาทในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยที่มีภาวะทุพลภาพมีมากขึ้น พบว่าผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงหรือติดบ้านและขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือทำได้จำกัด หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อมถูกทอดทิ้ง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องอยู่บ้านคนเดียวในช่วงกลางวันเพราะลูกหลานต้องออกไปทำงาน แม้ในครอบครัวที่มีผู้ดูแลก็มีปัญหาภาระของผู้ดูแลไม่น้อยรวมถึงมีผลกระทบต่อการเสียโอกาสในด้านต่างๆทางสังคมของผู้ดูแล ประเด็น pain point ในการพัฒนา การพัฒนานวัตกรรมบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีและสารสนเทศสมัยใหม่ รวมถึงนวัตกรรม ควรมีการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ให้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการตอบสนองการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน รวมถึงส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ขณะเดียวกันควรมีการส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร และการประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ส่งเสริมการออมเงิน ส่งเสริมการมีอาชีพ มองเห็นคุณค่าในตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน

พยาบาลศาสตร์

ชุมชนบ้านบะไหมีกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) พบมากในผู้สูงอายุและประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ การปลูกข้าว และการทำสวน ซึ่งเป็นรายได้ทางเดียว ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการดูแลตนเองทางด้านอาหาร การออกกำลังกาย

แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

ผู้สูงอายุในตำบลห้วยยาง มีการรวมกลุ่มเป็นชมรมและมีกิจกรรมภายในชมรม มีโครงสร้างองค์กรและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นระยะ จากการสำรวจบริบทชุมชนและประชุมร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาบัว กลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ตำบลห้วยยาง ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ พบว่า ปัญหาหลักของผู้สูงอายุในตำบลห้วยยางคือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (หนี้สิน ขาดรายได้ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ) และปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โรคเรื้อรัง โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น และปัญหาที่สำคัญคือขาดแคลนผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุและคนในชุมชน

แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

การคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงรอ้ ยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากร ทั้งประเทศ ทั้งนี้การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สําคัญ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตประจำวันตามศักยภาพได้

สาธารณสุขศาสตร์

ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่พบมากในเยาวชนกลุ่มมหาวิทยาลัย การสร้างคน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ การดูแลด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาต้องควบคู่กันไป ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์จึงให้คำปรึกษา จัดการอบรม บูรณาการพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกายและจิตประชาชนได้

พยาบาลศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้เป็นต้นแบบด้านการป้องกันและควบคุมยาสูบ เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มนักศึกษาและผู้ป่วย รวมถึงนำไปใช้เมื่อเป็นพยาบาลในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นักศึกษาพยาบาล มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า 2.เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะการช่วยเลิกสูบบุหรี่ 3. เพื่อช่วยผู้สูบรายเก่าให้เลิกสูบ

พยาบาลศาสตร์