SDG Info 2024 2023 2022

13

Project

7

Division

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และโดยการที่จะต้องให้ความสำคัญกับการบริการและการพัฒนานักศึกษาในฐานะทรัพยากรที่ สำคัญของมหาวิทยาลัย และการที่มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาจำนวนมาก โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความหลากหลายทั้งด้านศาสนา ภูมิลำเนา ความต้องการ ความสนใจในการเข้ารับการศึกษา เป็นต้น แต่ถึงแม้นักศึกษาจะมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่นักศึกษาซึ่งถือเป็นสมาชิกหนึ่งของสังคมการศึกษาแห่งนี้ ก็จะต้องมีการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันจนสำเร็จการศึกษา โดยหน่วยงานหลัก ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัย จะต้องมีการจัดสรรสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การให้บริการสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนหรือสิ่งอำนวยความสะดวกตามองค์ประกอบของการจัดสวัสดิการให้กับนักศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

น้ำมันพริก หรือ oil sauce เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบส่วนหนึ่งมาจากชุมชนเอง เช่น พริก หัวหอม กระเทียม ขิง ข่า และเมล็ดงา และมีวัตถุดิบบางส่วนยังต้องซื้อมา เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา พริกเสฉวน ใบและลูกกระวาน รวมถึงหมาล่า เป็นต้น น้ำมันรำข้าวและน้ำมันงาเป็นส่วนที่ใช้ในปริมาณมาก เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทั้งต้นทุนและคุณภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพของผลิตภัณฑ์ โดยส่วนประกอบของน้ำมันทั้งสองชนิดมีคุณค่าในทางโภชนาการอยู่แล้ว ดีกว่าน้ำมันพืชทั่วไปที่ในการประกอบอาหาร อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นจากวัตถุดิบน้ำมันธรรมดา (refined oil) เป็นน้ำมันสกัดเย็น จะสามารถเพิ่มคุณค่าทางสุขภาพต่อผู้บริโภคอย่างมาก แต่ต้นทุนสูงมาก ประกอบกับชุมชนนี้ยังไม่เครื่องจักที่จะสามารถผลิตน้ำมันสกัดเย็นที่ได้คุณภาพและปริมาณในระดับที่จะผลิตเพื่อขายได้ อีกทั้งราคาขายจะแพงขึ้นเนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น และยังเป็นตลาดบนซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาและจะเป็นเป้าหมายในอนาคต

แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์ในตำบลบุ่งไหม จัดตั้งอยู่ที่ ศรีบุญมาฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้เศษฐกิจพอเพียง หมู่ 6 ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมาชิกจำนวน 30 ราย ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มนี้มีเป้าหมายให้สมาชิกปลูกผักอินทรีย์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ทางกลุ่มได้พยายามส่งเสริมให้สมาชิกทุกรายในกลุ่มปลูกผักอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประสบปัญหาในการผลิตผักอินทรีย์ไม่เพียงพอส่งลูกค้า เนื่องจากผลิตยังใช้แรงงานตนเอง ผลิตผักอินทรีย์ได้น้อย โดยเฉพาะการรดน้ำที่คงยังใช้สายยางรดน้ำด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานทำให้ไม่สามารถดูแลแปลงผักจำนวนมากได้ หรือไม่สามารถทำงานอย่างอื่นได้ กลุ่มจึงมีความต้องการที่จะยกระดับการผลิตผักอินทรีย์ให้ได้มากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อลดการใช้แรงงานและเพิ่มความสามารถของเกษตรกรในกลุ่มและยังเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องของตลาด ประเด็น pain point ในการพัฒนา เกษตรกรประสบปัญหาการรดน้ำยังใช้วิธีรดน้ำด้วยตัวเอง ทำให้ใช้เวลานาน ซึ่งหากมีจำนวนแปลงผักอินทรีย์มากทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้ผลิตผักอินทรีย์ได้น้อยไม่เพียงพอส่งลูกค้า ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการควบคุมการรดน้ำในแปลงผักอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อลดเวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในกระบวนการการผลิต ซึ่งจะยังช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลแปลงผักอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง

วิทยาการคอมพิวเตอร์

1 การส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แก้ปัญหาด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างภาวะการเป็นผู้นำ 2 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในท้องถิ่น การทำสบู่ การทำยาสระผม และน้ำยาล้างจาน 3 การส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการให้กับคนในชุมชน

บริหารธุรกิจและการจัดการ