SDG Info

14

Project

8

Division

กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและนักศึกษาให้มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
4.3 Lifelong learning measures 4.3.2 Public events (lifelong learning) กิจกรรมสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
1) คณะจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาในด้านวิชาการประเด็นการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตร ปร.ด. วิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 9 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร ส.บ. สาธารณสุขชุมชน จำนวน 50 คน
       2) มีชุมชนจำนวน 1 แห่ง ที่ได้รับการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คือ บ้านหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 
3) มีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 80
4) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 (มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.55 (X=4.55; S.D.= 0.64))
Caveat
จากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ดำเนินการด้านแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายใน และภายนอกองค์กร (Good relation, networking and collaboration : G3) โดยกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับมหาวิทยาลัยในประเทศ ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อพัฒนาและสร้างกิจกรรมเครือข่าย MOU ภายใต้งานบริการวิชาการและการดำเนินงานบริการวิชาการในพื้นที่ Flagship เพื่อขับเคลื่อนงานและกิจกรรมพันธกิจงานวิจัย การบริการชุมชนและพันธกิจสังคมกับชุมชน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินงานระบบและกลไกงานวิชาการด้านการบริการวิชาการแก่สังคมและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมในพื้นที่ Flagship รวมถึงงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน คณะฯ จึง กำหนดแผนพัฒนางานด้านบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมโดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ Flagship ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ในปี พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้กำหนดพื้นที่ Flagship เพิ่มเติมในบริบทภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของคณะกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาบริบทชุมชนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า จุดอ่อนของชุมชน คือ มีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากภูมิศาสตร์ของตำบลหนองบ่อตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ทำให้ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด เป็นสาเหตุให้มีการบริโภคปลาน้ำจืดดิบซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี จุดแข็งของชุมชน คือ เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการป้องกันควบคุมโรค COVID-19 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีการส่งต่อข้อมูลเพื่อแจ้งข่าวสารให้กับศูนย์ข้อมูล COVID-19 จังหวัดอุบลราชธานี อย่างเป็นระบบ ส่วนโอกาสในการพัฒนาของชุมชน คือ หากมีการพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคเรื้อรังในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) น่าจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไปได้
Impact Level
Local 
Impact
ประเด็นการประเมิน ผลการประเมิน
1. ผลผลิตของโครงการ หลักสูตรจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาในด้านวิชาการประเด็นการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตร ปร.ด. วิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 9 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร ส.บ. สาธารณสุขชุมชน จำนวน 50 คน
2. ผลลัพธ์ของโครงการ มีชุมชนจำนวน 1 แห่ง ที่ได้รับการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คือ บ้านหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเอง
4. ประเมินความคุ้มค่า หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเองและยังสามารถขยายผลไปยังเพื่อนร่วมงานและเครือข่ายทางวิชาการต่อไป
5. ความพึงพอใจ (Reaction) (ถ้ามี) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.55 (X= 4.55; S.D. = 0.64)
Division

สาธารณสุขศาสตร์

Reporter

UBRU

2022-11-14 14:08:24