SDG Info

14

Project

8

Division

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี-อำนาจเจริญ ปี 2564

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
4.3 Lifelong learning measures 4.3.4 Education outreach activities beyond campus กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต
รูผู้สอน (ภาพรวม)
1.ครูสามารถออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์รวม
ตามศาสตร์วิชาเนื้อหาเฉพาะด้าน
2. มีทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวัดและประเมินผล การวิเคราะห์ผู้เรียนและรายงานในฐานข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ
ครูผู้สอนระดับปฐมวัย
1.มีความสามารถออกแบบและจัดกิจกรรมบูรณาการได้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2. มีความสามารถประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมกับวัย
ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 - 2
1. มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์รวม
2. มีความสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ครูใหญ่
1. มีสามารถบริหารจัดการโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ
2. มีภาวะการเป็นผู้นำทางวิชาการและผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียนที่เป็นรูปธรรม
3. มีทักษะการบริหารและการตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศใน
การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ
โรงเรียน
1. มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ได้
2. มีระบบการช่วยเหลือนักเรียนและครูผู้สอน
3. มีกระบวนการใช้ PLC อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเป็นวิถี
4. มีสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ดีมีสุขภาวะที่ปลอดภัยต่อผู้เรียนและผู้ร่วมงา
Caveat
เพื่อดำเนินการส่งเสริม/สนับสนุนให้ครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย เกิดการพัฒนาสมรรถนะครูตามมาตรฐานของสมรรถนะในวิชาชีพ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านเชิงบูรณาการ ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โดยใช้ภาระงานประจำที่ทำอยู่และโรงเรียนเป็นฐาน และคำนึงถึงบริบทจริงของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบพัฒนาคุณภาพตนเองทั้งระบบโรงเรียน (Whole School Approach) ทั้งด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามช่วงวัย และความรู้ที่เพิ่มขึ้น (ASK) รวมทั้งได้รับการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเต็มตามศักยภาพและปลอดภัย โรงเรียนมีเป้าหมายที่ท้าทาย มีระบบสารสนเทศที่ใช้ประโยชน์ได้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการ PLC ต่อเนื่องทั้งภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน ตชด. เป้าหมาย และระหว่างโรงเรียน ตชด. กับโรงเรียน สพฐ. ซึ่งเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนา รวมถึงมีสภาพแวดล้อมที่มีสุขภาวะปลอดภัยน่าอยู่น่าเรียน ดังนี้
1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย ตามองค์ประกอบ 4 ด้านเชิงบูรณาการ ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โดยใช้โรงเรียนและหน่วยปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เป็นฐาน เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน (ASK) ในทุกระดับชั้น โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการหนุนเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Q-OLE & Q-Classroom)
2) เพื่อพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายผลไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอื่นได้ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการสร้างฐานคุณภาพโรงเรียน (Q-Goal & Q-Principal & Q-Info & Q-Health)
3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มครู ให้เกิดการช่วยเหลือทางวิชาการซึ่งกันและกัน และสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการเสริมพลังเครือข่ายภายใน/ภายนอก (Q-PLC & Q-Network)
4) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาครู ผ่านการดำเนินงานพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จริง และนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันผลิตและพัฒนาครู
Impact Level
(Local)
Impact
1.ครูใหญ่สามารถออกแบบ วางแผน และบริหารจัดการโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการเรียนรู้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น
2. ครูเกิดสมรรถนะตามองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น และเกิดสมรรถนะในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสมตามช่วงวัย และมีความรู้ (ASK) เพิ่มมากขึ้น
3.นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสมตามช่วงวัย และมีความรู้หรือสมรรถนะ ASK เพิ่มมากขึ้น
4. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียน มีส่วนร่วมในการดูแลการศึกษาของบุตรหลานในครอบครัว เช่น สนับสนุนทรัพยากรในท้องถิ่น ให้นักเรียนไปเรียนรู้กิจการของชุมชน หรือร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในชั้นเรียน เป็นต้น และเกิดความศรัทธาเชื่อมั่นต่อโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น
5. นักศึกษาคณะครุศาสตร์ (ที่เข้าร่วมโครงการ) ได้ฝึกประสบการณ์ พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทางวิชาชีพจากการร่วมดำเนินงานกับทีมคณาจารย์ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ
คณะครุศาสตร์ มีการบูรณาการพันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอนและวิจัยที่เป็นรูปธรรม เชื่อมโยงสู่ระบบการผลิตและพัฒนาครูได้อย่างมีประสิทธิภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีการเสริมหนุนด้านการวิจัย/ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมผ่านระบบการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยในระดับคณะ
Division

ครุศาสตร์

Reporter

UBRU

2022-11-14 13:40:11