SDG Info

14

Project

8

Division

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาท้องถิ่น โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลเป็นพี่เลี้ยง UBRU U-school mentoring

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
4.3 Lifelong learning measures 4.3.4 Education outreach activities beyond campus กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต
1. นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  ที่ได้รับการพัฒนา มีความสามารถในการ อ่าน และการเขียน หลังการพัฒนาสูงขึ้น กว่าก่อนการพัฒนา
2. นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  มีผลการประเมินสมรรถนะการรู้ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังการ พัฒนาสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา
3. ครูมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะ ผู้เรียนและความเป็นครูมืออาชีพ
4. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5. โรงเรียนมีการส่งเสริมการใช้สื่อและ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาคุณภาพการศึกษา
Caveat
จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่ประสบผลสําเร็จได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาการ
ดําเนินการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management : SBM) ถือว่าโรงเรียนเป็นองค์กร ที่มีความ
สําคัญในฐานะเป็นฟันเฟืองของการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีจํานวนมากและกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่
หากสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนได้ก็จะกลายเป็นพลังสําคัญที่จะนํามาสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลง
ในเชิงพัฒนา และเป็นแนวทางสําคัญที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
เพื่อสร้างสิ่งดีงามและความสุขให้เกิดขึ้นในชุมชน สังคม และประเทศชาติ Impact Level สภาพปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาในภาพรวมทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเทียบเคียงการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาจากการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA) หรือการทดสอบระดับชาติ (O-NET/NT) ในบริบทของสถานศึกษาในเขตบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ก็พบว่ายังคงเป็นเป้าหมายการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้านการรู้คณิตศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยี ทั้งนี้เป้าหมายที่ได้กล่าวมาเป็นองค์ประกอบสําคัญในการเสริมหนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาในลําดับต่อไป
Impact
1.ได้ทราบข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ปัญหา/อุปสรรคและปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน 
2.ได้รูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน
3.โรงเรียนที่ได้รับการพัฒนามีรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่กําหนด
4.ครูได้รับการชี้แนะจากโค้ชที่เป็นคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์นําข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการสอนให้เกิดสัมฤทธิผลมากขึ้น
5. ได้ข้อมูลที่เป็นผลจากการดําเนินงานโครงการบทเรียนที่เป็นเลิศ และข้อควรปรับปรุง
Division

ครุศาสตร์

Reporter

UBRU

2022-11-14 13:35:27

ลิงค์ข่าวการจัดกิจกรรม (website/FB)

http://www.edu.ubru.ac.th/edu