SDG Info 2024 2023 2022

14

Project

8

Division

ปัจจุบันภาคการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนสู่ยุคปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครั้งใหญ่ อันเนื่องมากจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเนื่องจากภาวะโลกร้อน การขาดแคลนแรงงาน การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การตกค้างของสารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรยุคใหม่ ต้องมีการปรับตัวและนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตร ระบบฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี ลดการใช้แรงงาน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มปริมาณ คุณภาพ และรายได้ของเกษตรกร นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านการตลาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค การบริหารการเงิน หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “นักธุรกิจเกษตร” คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดฝึกอบรมทักษะอาชีพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบสมาร์ทฟาร์ม ให้กับเกษตรกร ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการฝึกอบรมทักษะอาชีพ หลักสูตรได้ออกแบบตามห่วงโซ่การผลิต จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบสมาร์ทฟาร์ม การแปรรูปและการตลาดของผักไฮโดรโปนิกส์ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำทักษะไปพัฒนาเป็นอาชีพได้ โดยใช้บ้านไร่ดง ต.โคกจาน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เป็นแหล่งเรียนรู้และสาธิตในการฝึกอบรม

วิทยาศาสตร์

ปัจจุบันสื่อวีดีทัศน์สามารถเผยแพร่เป็นไฟล์ออนไลน์บนระบบอินเตอร์เน็ตได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนรู้ สามารถเรียนรู้จากวีดีทัศน์ช่วงเวลาใดก็ได้ จึงเกิดความสะดวกและช่วยลดปัญหาด้านระยะเวลาการเรียนรู้ โดยเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดรูปแบบ ธีม ของสื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศึกษาและวิเคราะห์หัวข้อในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ กำหนดรูปแบบสื่อวีดีทัศน์ในรูปแบบ Motion Graphic ในธีมจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

บริหารธุรกิจและการจัดการ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีพันธกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งคือการให้บริหารทางวิชาการแก่สังคมและการวิจัย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน สังคมและชุมชนภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามบทบาทของมหาวิทยาลัย การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและโรงเรียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามบทบาทของมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น(Flagship Project) เพื่อจัดกิจกรรมกระบวนการบริการวิชาการให้เกิดประโยชน์ตามพันธกิจหลักของคณะ และเพื่อนำองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี สู่ชุมชนท้องถิ่น

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ ถือเป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นสื่อสำคัญอย่างยิ่งในสภาวการณ์ปัจจุบันในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่สำหรับนักศึกษาและบุคลากรทุกระดับในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐาน (Basic User) และทักษะด้านการเขียนบทความวิชาการเพื่อนำเสนอในระดับนานาชาติ (International Conference) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐาน (Basic User) 2) เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการและแนวทางการ

บริหารธุรกิจและการจัดการ

จากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ดำเนินการด้านแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายใน และภายนอกองค์กร (Good relation, networking and collaboration : G3) โดยกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับมหาวิทยาลัยในประเทศ ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อพัฒนาและสร้างกิจกรรมเครือข่าย MOU ภายใต้งานบริการวิชาการและการดำเนินงานบริการวิชาการในพื้นที่ Flagship เพื่อขับเคลื่อนงานและกิจกรรมพันธกิจงานวิจัย การบริการชุมชนและพันธกิจสังคมกับชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินงานระบบและกลไกงานวิชาการด้านการบริการวิชาการแก่สังคมและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมในพื้นที่ Flagship รวมถึงงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน คณะฯ จึง กำหนดแผนพัฒนางานด้านบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมโดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ Flagship ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้กำหนดพื้นที่ Flagship เพิ่มเติมในบริบทภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของคณะกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาบริบทชุมชนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า จุดอ่อนของชุมชน คือ มีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากภูมิศาสตร์ของตำบลหนองบ่อตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ทำให้ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด เป็นสาเหตุให้มีการบริโภคปลาน้ำจืดดิบซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี จุดแข็งของชุมชน คือ เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการป้องกันควบคุมโรค COVID-19 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีการส่งต่อข้อมูลเพื่อแจ้งข่าวสารให้กับศูนย์ข้อมูล COVID-19 จังหวัดอุบลราชธานี อย่างเป็นระบบ ส่วนโอกาสในการพัฒนาของชุมชน คือ หากมีการพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคเรื้อรังในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) น่าจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไปได้

สาธารณสุขศาสตร์

คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยใช้ความรู้ในการการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้การดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ศาสตร์การแพทย์แผนไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทย โดยเฉพาะด้านการ “นวดไทย” NUAD THAI ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ นวดไทยถือเป็นมรดกภูมิปัญญาที่เป็นศาสตร์และศิลป์ทางการแพทย์ดั้งเดิมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นและพระพุทธศาสนาและเป็นการรักษาทางเลือกควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพตามแบบแผนตะวันตกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการรักษา ฟื้นฟูสุขภาพที่ไม่ต้องใช้ยา คณะฯ จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าเรียนและนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพภายใต้มาตรฐานของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองหลักสูตรวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตร ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559

แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ให้ความสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งการเรียนรู้ในสายวิชาชีพทางด้านบัญชี และสายงานด้านบริหารธุรกิจ จึงจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความรู้เกี่ยวกับสายวิชาชีพ การวางระบบงานบัญชี ทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน การตลาดสีเขียว ดังนั้นคณะฯ จึงได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา และบุคคลทั่วไปภายนอกที่สนใจเข้าร่วมอบรม พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อผ่านการฝึกอบรม เช่น อบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรกลยุทธ์การวางระบบบัญชีผ่านเทคนิคการกำหนดผังบัญชี” “หลักสูตรการตลาดดิจิทัลสำหรับนักบัญชี” "หลักสูตรการจัดหาแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่" “หลักสูตรการจัดการธุรกิจ แฟรนไซส์”

บริหารธุรกิจและการจัดการ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนถือเป็นกลุ่มที่มีสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์ความน่าสนใจที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่นั้นๆ ซึ่งการพัฒนาบุคคลให้มีทักษะในการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารการตลาดนั้น จะช่วยให้การถ่ายทอดเรื่องราวน่าสนใจ เพราะเจ้าของสินค้าและบริการเป็นผู้ถ่ายทอดเอง เนื่องจากกระบวนการที่จะนำไปสู่การมีทักษะนั้น ปัญหาสำคัญคือการสร้างองค์ความรู้ด้านการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารการตลาดและการใช้เทคโนโลยี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อ และเมื่อผู้ประกอบการมีทักษะดังกล่าว จะสามารถสื่อสารได้ในทุกประเด็นที่ต้องการสื่อสารไปยังลูกค้าเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ อีกทั้งเป็นการยกระดับการสินค้าวิสาหกิจชุมชนในการเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่ามั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตลอดจนสามารถเป็นต้นแบบด้านการตลาดและขยายผลไปยังวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิศวกรสังคม หมายถึง เยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น การพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรสังคมตามอัตลักษณ์ของคณะครุศาสตร์จึงเป็นการบริการวิชาการที่ทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนาไปด้วย โดยต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (นักคิด) 2) ทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา (นักสื่อสาร) 3) ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา (นักประสานงาน) และ 4) ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม (นักสร้างนวัตกรรม) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning : CBL) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดวิศวกรสังคม กล่าวคือ เป็นการให้บริการชุมชนเชิงวิชาการ เป็นการศึกษาความเป็นพลเมือง เป็นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียนรู้โดยใช้สถานที่เป็นฐาน เป็นการเรียนรู้โดยการบริการ และเป็นการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน Melaville, Berg and Blank (2015) โครงการสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตวิศวกรสังคม คนของพระราชาข้าของแผ่นดิน ในบริบทของคณะครุศาสตร์จึงเป็นการบริการชุมชนเพื่อพัฒนาและนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรชุมชนต่อไป

ครุศาสตร์

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่ประสบผลสําเร็จได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาการ ดําเนินการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management : SBM) ถือว่าโรงเรียนเป็นองค์กร ที่มีความ สําคัญในฐานะเป็นฟันเฟืองของการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีจํานวนมากและกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ หากสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนได้ก็จะกลายเป็นพลังสําคัญที่จะนํามาสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลง ในเชิงพัฒนา และเป็นแนวทางสําคัญที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เพื่อสร้างสิ่งดีงามและความสุขให้เกิดขึ้นในชุมชน สังคม และประเทศชาติ Impact Level สภาพปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาในภาพรวมทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเทียบเคียงการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาจากการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA) หรือการทดสอบระดับชาติ (O-NET/NT) ในบริบทของสถานศึกษาในเขตบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ก็พบว่ายังคงเป็นเป้าหมายการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้านการรู้คณิตศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยี ทั้งนี้เป้าหมายที่ได้กล่าวมาเป็นองค์ประกอบสําคัญในการเสริมหนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาในลําดับต่อไป

ครุศาสตร์

เพื่อดำเนินการส่งเสริม/สนับสนุนให้ครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย เกิดการพัฒนาสมรรถนะครูตามมาตรฐานของสมรรถนะในวิชาชีพ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านเชิงบูรณาการ ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โดยใช้ภาระงานประจำที่ทำอยู่และโรงเรียนเป็นฐาน และคำนึงถึงบริบทจริงของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบพัฒนาคุณภาพตนเองทั้งระบบโรงเรียน (Whole School Approach) ทั้งด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามช่วงวัย และความรู้ที่เพิ่มขึ้น (ASK) รวมทั้งได้รับการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเต็มตามศักยภาพและปลอดภัย โรงเรียนมีเป้าหมายที่ท้าทาย มีระบบสารสนเทศที่ใช้ประโยชน์ได้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการ PLC ต่อเนื่องทั้งภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน ตชด. เป้าหมาย และระหว่างโรงเรียน ตชด. กับโรงเรียน สพฐ. ซึ่งเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนา รวมถึงมีสภาพแวดล้อมที่มีสุขภาวะปลอดภัยน่าอยู่น่าเรียน ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย ตามองค์ประกอบ 4 ด้านเชิงบูรณาการ ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โดยใช้โรงเรียนและหน่วยปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เป็นฐาน เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน (ASK) ในทุกระดับชั้น โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการหนุนเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Q-OLE & Q-Classroom) 2) เพื่อพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายผลไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอื่นได้ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการสร้างฐานคุณภาพโรงเรียน (Q-Goal & Q-Principal & Q-Info & Q-Health) 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มครู ให้เกิดการช่วยเหลือทางวิชาการซึ่งกันและกัน และสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานตามชุดมาตรการเสริมพลังเครือข่ายภายใน/ภายนอก (Q-PLC & Q-Network) 4) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาครู ผ่านการดำเนินงานพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จริง และนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันผลิตและพัฒนาครู

ครุศาสตร์