SDG Info

11

Project

10

Division

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
2.5 National hunger 2.5.2 Events for local farmers and food producers
- กลุ่มเกษตรกรเกิดการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด ช่วยให้ผู้ผลิตยางพาราสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
- เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยางพารา
- สามารถลดการสูญเสียและขาดแคลนของวัตถุดิบในการผลิต
- กลุ่มเกษตรกรเกิดความตระหนักในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากร ลดการใช้งานที่ไม่จำเป็น และเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินกิจกรรม
- เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลตอบแทนได้
Caveat
บ้านนาโพธิ์ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกษตรกรมีการทำสวนยางกันอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากมีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วย และหนองกลางพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำคัญทำให้พื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมในการทำสวนยาง  โดยมีพื้นที่ในการปลูกยางพาราจำนวน 1,223 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถกรีดยางพาราได้และสามารถจำหน่ายเป็นแผ่นยางดิบจำนวน  456 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราที่ต้นยางพารายังไม่สามารถผลิตน้ำยางได้จำนวน  700 ไร่ และเพิ่งเริ่มทำการปลูกยางพาราจำนวน 67 ไร่ มีจำนวนเกษตรกรที่ถือครองที่ดินในการปลูกยางพาราแบบมีเอกสารสิทธิ์จำนวน 30 ราย และไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวน 46 ราย  กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้มีการใช้พื้นที่และทุนในชุมชนจัดตั้งเกษตรกรกลุ่มสวนยางพาราบ้านนาโพธิ์ขึ้น โดยมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมยางและสามารถเพิ่มส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์ยางไทยในตลาด สร้างความมั่นคงให้กับชุมชน

ดังนั้นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของสวนยางพาราพื้นที่เป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรในระยะยาว สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ  ลดต้นทุนการผลิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรบ้านโนนโพธิ์ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและตลาดได้อย่างเหมาะสม  เพื่อการสร้างโอกาสให้กับประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำและรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ประเด็น pain point ในการพัฒนา
- กลุ่มเกษตรกรขาดแผนกลยุทธ์ชี้นำทางธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การผลิตยางก้อนถ้วย และ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยางก้นถ้วยยังไม่มีมาตรฐาน ส่งผลให้ถูกกดราคาขาย
- สมาชิกเกษตรกรขาดความตระหนักในการจัดการความสูญเปล่า  ขาดองค์ความรู้ในการลดต้นทุนกระบวนการ และขาดองค์ความรู้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์
- สมาชิกเกษตรกรขาดโอกาสในการรับการสนับสนุนด้านการเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก
- กลุ่มเกษตรกรมีเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์
- กลุ่มเกษตรกรขาดเทคโนโลยีสารสนเทศในการซื้อขายยาง
- สมาชิกเกษตรกรขาดการนำระบบบัญชีครัวเรือนมาใช้
- กลุ่มเกษตรกรขาดการรับรู้สถานะด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน
- กลุ่มเกษตรกรไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
Process
- operation standard document
- inspection standard document
- Vsm
- Why-Why analysis
- ecrs
- การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
- กฎหมายธุรกิจ
- แผนการผลิตและซ่อมบำรุง
- การเขียน application
- หลักการบัญชีเบื้องต้น
- แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์
- การออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์
- การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
Impact Level
Local
Impact
- การลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีความยั่งยืนในการดำเนินกิจกรรมในระยะยาว
- การเป็นแบบอย่างในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืนแก่ชุมชน และสามารถสร้างการแรงขับเคลื่อนในการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมในชุมชนอื่น
- เกิดการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเสริมสร้างการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้ยั่งยืน
Division

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

Reporter

UBRU

2023-11-03 07:29:43