SDG Info 2024 2023 2022

11

Project

10

Division

คนในพื้นที่ ต.หนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมือคืออาชีพรับจ้าง โดยการรับจ้างในพื้นที่จะเกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรมและรับจ้างนอกพื้นที่จะเกี่ยวข้องทางการก่อสร้าง งานบริการอื่นๆ มีแหล่งน้ำหลักคือ ลำเซบาย ที่เป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านตำบล มีระบบชลประทานในการส่งน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆ ในตำบล อ่างเก็บน้ำ บึงน้ำสาธารณะ มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ประเด็น pain point ในการพัฒนา 1. ปลูกพริกช่วงหลังฤดูฝน ซึ่งมีราคาขายในช่วง 15 – 80 บาท/กิโลกรัม โดยช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว (ก.ย. - พ.ย.) ขายได้ในราคา 50-80 บาท/กิโลกรัม ช่วงกลางและปลายฤดูเก็บเกี่ยว (ม.ค. – มี.ค.) ราคาขายจะลดต่ำลง ขายได้ในราคา 20-40 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าทุน ไม่คุ้มทุน 2. ปัญหาต้นทุนในด้านปัจจัยการผลิต ขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น 3. ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา จังหวัดอุบลราชธานี ประสบปัญหาภัยน้ำท่วม ทำพริกที่ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนเสียหายทั้งหมด 4. ปัญหาด้านการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพริก ได้แก่ โรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา

วิทยาศาสตร์

จากข้อมูลเชิงพื้นที่บ้านสำโรงใหญ่ พบว่าปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกตำบลสำโรง มีสมาชิกจำนวน 30 ราย สำหรับการปลูกพริก ดินที่ใช้ปลูกขาดสารอาหาร เป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ ดินเป็นกรด นอกจากนั้น ราคาของปุ๋ยเคมีเกษตรยังคงสูงมากทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นเพื่อซื้อปุ๋ยเคมีที่จำเป็นในการดูแลพริก นอกจากนั้นปัจจุบันเกษตรกรมีวิธีการตากพริกแห้ง โดยใช้การตากบนพื้นทำให้พริกเสียหายเกิดเชื้อรา การตากบนพื้นที่ชื้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและทำให้พริกเสียหาย ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้จากพริกที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรในกลุ่มส่วนมากต้องใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อรดน้ำพริก ทำให้ต้องใช้น้ำมันในการเดินเครื่องสูบน้ำ ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันสูง สำหรับราคาขายพริกต่ำเนื่องจากพ่อค้าคนกลางที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายพริกกดราคา นั่นหมายความว่าเกษตรกรจะได้รับราคาขายที่ต่ำกว่ามูลค่าจริงของผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรได้กำไรน้อย นอกจากนั้นทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทำแจ่วบองแต่พบปัญหาว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปแจ่วบองที่ผลิตจากพริกไม่ได้รับความนิยม การขายผลิตภัณฑ์แปรรูปแจ่วบองน้อยทำให้กำไรจากการผลิตและการจำหน่ายลดลง ประเด็น pain point ในการพัฒนา 1) การปลูกพริกของเกษตรกรเกิดพฤติกรรมการใช้สารเคมี ที่มีผลต่อคุณภาพดินทำให้ดินเป็นกรดและต้นทุนการเกษตรจากการใช้ปุ๋ยสารเคมี เพื่อลดต้นทุนจึงมีแนวคิด การทำปุ๋ยหมักเป็นทางเลือกที่น่าสนับสนุนในการลดต้นทุนการปลูกพริกของเกษตรกร 2) การตากพริกแห้งในอดีตที่ใช้วิธีการตากบนพื้นที่มีข้อเสียตามมาด้วยคือเกิดความเสียหายจากเชื้อราได้ง่าย ซึ่งเชื้อราสามารถเจริญเติบโตและทำให้พริกเน่าเสียได้ ด้วยเหตุนี้ การตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรงเป็นวิธีการที่น่าสนับสนุนและควรนำเสนอให้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันความเสียหายจากเชื้อราได้ 3) การใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อรดน้ำในการปลูกพริกมีต้นทุนราคาค่าน้ำมันที่สูง ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญต้นทุนจากราคาน้ำมันสูง ดังนั้น การสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทนที่มาจากแสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่สำคัญในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบน้ำในการปลูกพริก

วิทยาการคอมพิวเตอร์

บ้านนาโพธิ์ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกษตรกรมีการทำสวนยางกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วย และหนองกลางพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำคัญทำให้พื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมในการทำสวนยาง โดยมีพื้นที่ในการปลูกยางพาราจำนวน 1,223 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถกรีดยางพาราได้และสามารถจำหน่ายเป็นแผ่นยางดิบจำนวน 456 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราที่ต้นยางพารายังไม่สามารถผลิตน้ำยางได้จำนวน 700 ไร่ และเพิ่งเริ่มทำการปลูกยางพาราจำนวน 67 ไร่ มีจำนวนเกษตรกรที่ถือครองที่ดินในการปลูกยางพาราแบบมีเอกสารสิทธิ์จำนวน 30 ราย และไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวน 46 ราย กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้มีการใช้พื้นที่และทุนในชุมชนจัดตั้งเกษตรกรกลุ่มสวนยางพาราบ้านนาโพธิ์ขึ้น โดยมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมยางและสามารถเพิ่มส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์ยางไทยในตลาด สร้างความมั่นคงให้กับชุมชน ดังนั้นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของสวนยางพาราพื้นที่เป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรในระยะยาว สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรบ้านโนนโพธิ์ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและตลาดได้อย่างเหมาะสม เพื่อการสร้างโอกาสให้กับประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำและรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประเด็น pain point ในการพัฒนา - กลุ่มเกษตรกรขาดแผนกลยุทธ์ชี้นำทางธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ - การผลิตยางก้อนถ้วย และ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยางก้นถ้วยยังไม่มีมาตรฐาน ส่งผลให้ถูกกดราคาขาย - สมาชิกเกษตรกรขาดความตระหนักในการจัดการความสูญเปล่า ขาดองค์ความรู้ในการลดต้นทุนกระบวนการ และขาดองค์ความรู้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ - สมาชิกเกษตรกรขาดโอกาสในการรับการสนับสนุนด้านการเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก - กลุ่มเกษตรกรมีเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ - กลุ่มเกษตรกรขาดเทคโนโลยีสารสนเทศในการซื้อขายยาง - สมาชิกเกษตรกรขาดการนำระบบบัญชีครัวเรือนมาใช้ - กลุ่มเกษตรกรขาดการรับรู้สถานะด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน - กลุ่มเกษตรกรไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

สภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมายการพัฒนา (โดยสังเขป) 1 ชุมชนประกอบอาชีพทำนา ต้องการปลูกพืชเศษฐกิจหลังการเก็บเกี่ยวข้าว 2 ชุมชนการเพิ่มรายได้เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประเด็นการพัฒนา 1 การส่งเสริมการปลูกงาดำ พันธุ์อุบลราชธานี 3 เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังการเก็บเกี่ยวข้าว 2 เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีรายได้เป็นการเพิ่มจากการประกอบอาชีพทำนา 3 พัฒนา แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน วัตถุประสงค์การพัฒนา 1 เพื่อพัฒนาการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย 2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพิ่มทักษะการทำงานในศตรวรรษที่ 21

บริหารธุรกิจและการจัดการ

สภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมายการพัฒนา (โดยสังเขป) 1 ประชาชนตำบลดอนมดแดงส่วนใหญ่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตปีละครั้ง ประสบปัญหาการมีรายได้น้อย ต้องเจอกับความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ไม่มีรายได้เพิ่มในอาชีพอื่น 2 กลุ่มเป้าหมายขาดองค์ความรู้ในการจัดการพื้นที่ให้เป็นระบบ และได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลายแบบเกื้อกูลกันตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 กลุ่มเป้าหมายขาดองค์ความรู้ด้านการทำอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ประเด็น pain point ในการพัฒนา แก้ปัญหาความยากจน เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น. ประเด็นการพัฒนา 1 ปรับทัศนคดีและแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่/เกษตรผสมผสาน 2 การจัดการพื้นที่ตามหลักคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 การทำอาหารสัตว์ลดต้นทุน 4 ส่งเสริมการปลูกผักผลไม้และปศุสัตว์ตามหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่/เกษตรผสมผสาน วัตถุประสงค์การพัฒนา 1 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและรายได้ของประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น 2 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ชุมชนพื้นที่ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 12 หมู่บ้าน ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า อันตรายจากสภาพแวดล้อมการทำงานส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่น ร้อยละ 31.48 รองลงมา ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม สารเคมี และความร้อน ร้อยละ 24.07, 12.96, 9.26 การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงานส่วนใหญ่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ร้อยละ 90.32 และเคย ร้อยละ 9.68 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะทำงานส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 31.74 รองลงมา การสวมหน้ากากผ้าเท่ากันกับสวมรองเท้าบูท สวมถุงมือผ้า และสวมถุงมือยาง ร้อยละ 23.81, 7.94, 6.35 ตามลำดับ ประเด็น pain point ในการพัฒนา จากการศึกษาข้อมูลบริบทครัวเรือนและวิเคราะห์ข้อมูลรายได้ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 36 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 3,488 บาท (s.d.=2,901.63 บาท) สูงสุดเท่ากับ 15,000 บาท และต่ำสุด 800 บาทต่อเดือน) และมีประมาณการรายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ย 2,916 บาท (s.d.=2,332.12 บาท) (ไม่นับรวมหนี้สินครัวเรือน) ประชนในพื้นที่ที่มีความยากจนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด คือ จำนวนครัวเรือนที่มีความยากจนผ่านระดับพื้นฐานจำนวน 14 ครัวเรือน และจำนวน 22 ครัวเรือนในระดับปกติ

สาธารณสุขศาสตร์

ส่วนประเด็นความต้องการของประชาชนในตำบลโคกก่อง พบว่านอกจากความต้องการเรื่อง “น้ำ” สำหรับการอุปโภคบริโภคเพื่อตอบสนองอาชีพหลัก คือ การกสิกรรมแล้ว ยังต้องการอาชีพเสริมหลายประการที่ต้องการ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ปลาหมอ ปลานิล ตั๊กแตน กุ้งฝอย เป็นต้น นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่มีการตอบสนองในเรื่องของการรวมกลุ่มเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งคณะนิติศาสตร์ ได้กำหนดแผนในการที่จะสนับสนุนการดำเนินการดักกล่าวในลักษณะของการให้ความรู้ในการผลิต การบรรจุภัณฑ์ การขอรับการรับรองมาตรฐาน ช่องทางการตลาด และการจำหน่ายต่อไป

นิติศาสตร์