SDG Info

6

Project

3

Division

โครงการสานสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
2.5 National hunger 2.5.1 Access to food security knowledge
แปลงเรียนรู้การจัดการปลูกมันสำปะหลังแบบปราณีต การกำจัดวัชพืชโดยใช้เขตกรรม ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 25
Caveat
คนในชุมชนร้อยละ 73 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2564 การปลูกมันสำปะหลังซึ่งถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้หลักของคนในชุมชน เกิดการเน่าเสียเนื่องจากการจัดการแปลงที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับต้นทุนด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ท่อนพันธุ์ มีราคาสูงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน
Process
ถ่ายทอดเทคโนโลยีและจัดทำแปลงเรียนรู้การจัดการแปลงปลูกมันสำปะหลัง การเตรียมดินและไถยกร่องปลูกสูง
การใช้ไตรโคเดอร์มาในการป้องกันการเน่าเสียของหัวมันสำปะหลัง
Impact Level
ชุมชนท้องถิ่น (local)
Impact
เกษตรกรนำร่อง 20 ราย ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปลูกมันสำปะหลังและการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้สารชีวภัณฑ์ และเทคโนโลยีการใช้ผานไถกลบร่องมัน เพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน 
แปลงปลูกมันสำปะหลังที่มีการจัดการปลูก มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า มีความสูงและขนาดลำต้น 213 และ 2.7 เซนติเมตร สำหรับแปลงทั่วไป 110 และ 1.8 เซนติเมตร ตามลำดับ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเดิม 3.2 เป็น 4.0 ตัน/ไร่ คิดเป็นมูลค่าเดิม 8000 เป็น 10000 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้น 2,000 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25  รวมพื้นที่ 20 ไร่ มีรายได้เพิ่มขึ้น 40,000 บาท 
เกิดการขยายผลการจัดการแปลงปลูก การผลิตสารชีวภัณฑ์และการใช้ผานไถร่องมันไปใช้ในชุมชนจำนวน 28 ราย
Division

วิทยาศาสตร์

Reporter

UBRU

2022-11-08 15:20:09