SDG Info

14

Project

8

Division

โครงการสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตวิศวกรสังคม คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
4.3 Lifelong learning measures 4.3.4 Education outreach activities beyond campus กิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกวิทยาเขต
1. ได้อัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่เป็น       วิศวกรสังคม นักศึกษาเกิดทักษะ 1).รู้จักคิดและวางแผนการทำงานได้  2).มีทักษะการสื่อสารที่ดี
3).มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น4).รอบรู้เรื่องชุมชนและการเปลี่ยนแปลง 5).มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
2.ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้
Caveat
วิศวกรสังคม หมายถึง เยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น การพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรสังคมตามอัตลักษณ์ของคณะครุศาสตร์จึงเป็นการบริการวิชาการที่ทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนาไปด้วย โดยต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (นักคิด) 2) ทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา (นักสื่อสาร) 3) ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา (นักประสานงาน) และ 4) ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม (นักสร้างนวัตกรรม)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning : CBL) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดวิศวกรสังคม กล่าวคือ เป็นการให้บริการชุมชนเชิงวิชาการ เป็นการศึกษาความเป็นพลเมือง เป็นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียนรู้โดยใช้สถานที่เป็นฐาน เป็นการเรียนรู้โดยการบริการ และเป็นการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน Melaville, Berg and Blank (2015) 
โครงการสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตวิศวกรสังคม คนของพระราชาข้าของแผ่นดิน ในบริบทของคณะครุศาสตร์จึงเป็นการบริการชุมชนเพื่อพัฒนาและนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรชุมชนต่อไป
Impact Level
(Local)
Impact
1.นักศึกษาได้พัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาครุศาสตร์สู่ต้นแบบนักวิศวกรสังคม
2.นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรได้เรียนรู้กระบวนการทำงานผ่านเครื่องมือของวิศวกรสังคม สู่ชุมชน
3.นักศึกษาได้ออกแบบนวัตกรรมสู่การพัฒนาชุมชน
Division

ครุศาสตร์

Reporter

UBRU

2022-11-14 13:30:38