SDG Info

11

Project

10

Division

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนฐานรากพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
2.5 National hunger 2.5.2 Events for local farmers and food producers
ด้านผลผลิต (Output) 
ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ ประกอบด้วย 
 1) มีแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ในประเด็นด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารให้มี Value สู่ตลาดโลกและต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน 
 2) มีครัวเรือนที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ 15 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
 3) เกิดนวัตกรรมทางสุขภาพอย่างน้อย 1 ชิ้นงาน จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประชาชนในตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Caveat
ชุมชนพื้นที่ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 12 หมู่บ้าน ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน  จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า อันตรายจากสภาพแวดล้อมการทำงานส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่น ร้อยละ 31.48 รองลงมา ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม สารเคมี และความร้อน ร้อยละ 24.07, 12.96, 9.26 การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงานส่วนใหญ่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ร้อยละ 90.32 และเคย ร้อยละ 9.68 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะทำงานส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 31.74 รองลงมา การสวมหน้ากากผ้าเท่ากันกับสวมรองเท้าบูท สวมถุงมือผ้า และสวมถุงมือยาง ร้อยละ 23.81, 7.94, 6.35 ตามลำดับ

ประเด็น pain point ในการพัฒนา
จากการศึกษาข้อมูลบริบทครัวเรือนและวิเคราะห์ข้อมูลรายได้ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 36 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  เท่ากับ  3,488 บาท (s.d.=2,901.63 บาท) สูงสุดเท่ากับ 15,000 บาท และต่ำสุด 800 บาทต่อเดือน) และมีประมาณการรายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ย 2,916 บาท (s.d.=2,332.12 บาท) (ไม่นับรวมหนี้สินครัวเรือน) ประชนในพื้นที่ที่มีความยากจนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด คือ จำนวนครัวเรือนที่มีความยากจนผ่านระดับพื้นฐานจำนวน 14 ครัวเรือน และจำนวน 22 ครัวเรือนในระดับปกติ 
Process
 1) ความรู้ด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ
 	1.1 การประยุกต์ใช้หลักเกษตรอินทรีย์ปลอดสาร สำหรับการพัฒนาอาชีพเกษตรอินทรีย์ไร้สารในกลุ่มปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด  กล้วย ยางพาราและมันสำปะหลัง
 	1.2 การประยุกต์ใช้หลักความปลอดภัยในอาหาร สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปข้าวโพดและกล้วยฉาบอบกรอบ
 	1.3 การประยุกต์ใช้หลักทางบัญชีด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย
 	1.4 การประยุกต์ใช้หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับพัฒนารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑผักอบกรอบ (กล้วยและมันเบรคแตก กล้วยทอดสามรส มันรังนก)
 	1.5 การประยุกต์ใช้หลักการตลาด สำหรับพัฒนาด้านการตลาดและแหล่งจำหน่ายสินค้า
 
2) ความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคลและครอบครับ
 	    การฝึกอบรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลและครอบครัว ด้านคุณธรรมและการเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ 
Impact Level
Local
Impact
ผลกระทบทางสังคม   จะเกิดการรวมกลุ่มของชุมชนในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งหากมีการสร้างความร่วมมือ และมีผลการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการดูแลกิจการจากอาชีพที่ได้รับการพัฒนา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้มากขึ้น และมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น
 
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โครงการนี้เป็นกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยกรอบแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่ด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารให้มี Value และต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชน ดังนั้น จะสามารถเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนได้มากขึ้น จากกิจกรรมการอบรมเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการนำปุ๋ยหรือยากำจัดศัตรพืชมาใช้ในการทำเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชสวนในชุมชนที่นำมาแปรรูปคือ การแปรรูปกล้วยและฟักทองฉาบ มันฉาบสามรส มันม่วงรังนก ซึ่งจะเพิ่มรายได้ของแต่ละครัวเริอนได้มากขึ้น และหากมีการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา จะยิ่งส่งผลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปได้ และสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค

ลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กิจกรรมอาจจะมีผลกระต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย  จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในแต่ละครัวเรือน รวมถึงปัญหาขยะมูลฝอยต่าง ๆ ทั้งนี้ ได้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการจัดการของเสียจากการแปรรูปอาหาร เพื่อลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำเสียและขยะของเสียด้วย

Division

สาธารณสุขศาสตร์

Reporter

UBRU

2023-11-03 07:59:38