SDG Info

11

Project

10

Division

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บ้านสำโรงใหญ่ ตำบลสำโรง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
2.5 National hunger 2.5.2 Events for local farmers and food producers
ด้านผลผลิต (Output) 
เกษตรกรผู้ปลูกพริกได้พัฒนาทักษะและการเรียนรู้จากการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการการทำปุ๋ยหมักในการปลูกพริก การตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรง และติดตั้งและการใช้งานการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบน้ำในการปลูกพริก

ด้านผลลัพธ์ (Outcome) 
เกษตรกรผู้ปลูกพริกได้นำทักษะและการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการไปใช้งานจริง การทำปุ๋ยหมักในการปลูกพริก การตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรง ติดตั้งและใช้งานการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบน้ำในการปลูกพริก
Caveat
จากข้อมูลเชิงพื้นที่บ้านสำโรงใหญ่ พบว่าปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกตำบลสำโรง มีสมาชิกจำนวน 30 ราย สำหรับการปลูกพริก ดินที่ใช้ปลูกขาดสารอาหาร เป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ ดินเป็นกรด นอกจากนั้น ราคาของปุ๋ยเคมีเกษตรยังคงสูงมากทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นเพื่อซื้อปุ๋ยเคมีที่จำเป็นในการดูแลพริก นอกจากนั้นปัจจุบันเกษตรกรมีวิธีการตากพริกแห้ง โดยใช้การตากบนพื้นทำให้พริกเสียหายเกิดเชื้อรา การตากบนพื้นที่ชื้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและทำให้พริกเสียหาย ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้จากพริกที่ไม่มีคุณภาพ	เกษตรกรในกลุ่มส่วนมากต้องใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อรดน้ำพริก ทำให้ต้องใช้น้ำมันในการเดินเครื่องสูบน้ำ ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันสูง สำหรับราคาขายพริกต่ำเนื่องจากพ่อค้าคนกลางที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายพริกกดราคา นั่นหมายความว่าเกษตรกรจะได้รับราคาขายที่ต่ำกว่ามูลค่าจริงของผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรได้กำไรน้อย นอกจากนั้นทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทำแจ่วบองแต่พบปัญหาว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปแจ่วบองที่ผลิตจากพริกไม่ได้รับความนิยม การขายผลิตภัณฑ์แปรรูปแจ่วบองน้อยทำให้กำไรจากการผลิตและการจำหน่ายลดลง

ประเด็น pain point ในการพัฒนา
1)  การปลูกพริกของเกษตรกรเกิดพฤติกรรมการใช้สารเคมี ที่มีผลต่อคุณภาพดินทำให้ดินเป็นกรดและต้นทุนการเกษตรจากการใช้ปุ๋ยสารเคมี เพื่อลดต้นทุนจึงมีแนวคิด การทำปุ๋ยหมักเป็นทางเลือกที่น่าสนับสนุนในการลดต้นทุนการปลูกพริกของเกษตรกร				
2) การตากพริกแห้งในอดีตที่ใช้วิธีการตากบนพื้นที่มีข้อเสียตามมาด้วยคือเกิดความเสียหายจากเชื้อราได้ง่าย ซึ่งเชื้อราสามารถเจริญเติบโตและทำให้พริกเน่าเสียได้ ด้วยเหตุนี้ การตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรงเป็นวิธีการที่น่าสนับสนุนและควรนำเสนอให้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันความเสียหายจากเชื้อราได้		
3) การใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อรดน้ำในการปลูกพริกมีต้นทุนราคาค่าน้ำมันที่สูง ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญต้นทุนจากราคาน้ำมันสูง ดังนั้น การสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทนที่มาจากแสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่สำคัญในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบน้ำในการปลูกพริก 
Process
1) ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการทำปุ๋ยหมักในการปลูกพริก					
2) ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรงให้แก่เกษตรกร		
3) ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบน้ำในการปลูกพริก
Impact Level
Local
Impact
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
จากเดิมต้นทุนที่ใช้ในการปลูกพริกอยู่ 16,700 บาทต่อไร่ ซึ่งจากราคาพริกแห้งปัจจุบันเกษตรกรจะขายพริกสุทธิอยู่ที่ 33,200 บาทต่อไร่ เกษตรกรจะได้กำไรอยู่ที่ 16,500 บาทต่อไร่ การใช้ปุ๋ยในการปลูกพริก เดิมใช้ต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี 4,500 บาทต่อไร่ เมื่อเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยหมักใช้เอง ทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียง 540 บาทต่อไร่ 
การใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เมื่อนำมาใช้กับแปลงปลูกพริกของเกษตรกรแล้ว สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ใช้สำหรับแปลงปลูกพริกได้ถึง 3,000 บาท/ต่อรอบการปลูกหากคิดคำนวณรวมแล้ว ต้นทุนการผลิตพริกจากเดิม 16,700 บาทต่อไร่ จะลดลงเป็น 9,740 บาทต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไรอยู่ที่ 23,460 บาทต่อไร่ ทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ๓๐% นอกจากนั้นเกษตรกรที่หันมาใช้วิธีการตากพริกแบบยกสูงบนตะแกรง ช่วยลดความเสียหายของผลผลิตพริกแห้งที่เกิดเชื้อราได้

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
ชุมชนมีการจัดการวัสดุเศษเหลือจากการทำนา นำฟางข้าว เศษใบไม้ มาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองสูตร วิศวกรรมแม่โจ้ 1 มีการจัดทำคอกไว้ในบริเวณบ้านหรือแปลงเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมัก นำปุ๋ยหมักไปใช้ในการปลูกพริก
Division

วิทยาการคอมพิวเตอร์

Reporter

UBRU

2023-11-03 07:22:51