SDG Info

11

Project

10

Division

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกตำบลหนองเหล่า

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
2.5 National hunger 2.5.2 Events for local farmers and food producers
ด้านผลผลิต (Output)
1. ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพริกในฤดูฝน จำนวน 50 ราย
2. ได้รับการถ่ายทอดความรู้และผลิตสารชีวภัณฑ์และสารชีวภาพจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา น้ำหมักชีวภาพสูตรเร่งดอก ผล และสารละลายไคโตซาน	
3. ขยายผลการปลูกพริกในฤดูฝน เดิมในปี 2565 มีจำนวน 6 ราย ในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 14 ราย

ด้านผลลัพธ์ (Outcome) 
1. มีรายได้จากการปลูกและจำหน่ายพริกสดในช่วงฤดูฝน โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 14 ครัวเรือนมีรายได้จากการขายพริกสดเฉลี่ย 20,000 บาท/ครัวเรือน
2. มีผู้สมาชิกภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงในตำบลมาเรียนรู้รูปแบบการปลูกพริกในฤดูฝนจำนวน 192 คน
Caveat
คนในพื้นที่ ต.หนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมือคืออาชีพรับจ้าง โดยการรับจ้างในพื้นที่จะเกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรมและรับจ้างนอกพื้นที่จะเกี่ยวข้องทางการก่อสร้าง งานบริการอื่นๆ มีแหล่งน้ำหลักคือ ลำเซบาย ที่เป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านตำบล มีระบบชลประทานในการส่งน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆ ในตำบล อ่างเก็บน้ำ บึงน้ำสาธารณะ มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

ประเด็น pain point ในการพัฒนา
1. ปลูกพริกช่วงหลังฤดูฝน ซึ่งมีราคาขายในช่วง 15 – 80 บาท/กิโลกรัม โดยช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว (ก.ย. - พ.ย.) ขายได้ในราคา 50-80 บาท/กิโลกรัม ช่วงกลางและปลายฤดูเก็บเกี่ยว (ม.ค. – มี.ค.) ราคาขายจะลดต่ำลง ขายได้ในราคา 20-40 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าทุน ไม่คุ้มทุน
2. ปัญหาต้นทุนในด้านปัจจัยการผลิต ขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น
3. ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา จังหวัดอุบลราชธานี ประสบปัญหาภัยน้ำท่วม ทำพริกที่ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนเสียหายทั้งหมด
4. ปัญหาด้านการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพริก ได้แก่ โรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา
Process
1. การจัดการแปลงปลูกพริกในฤดูฝน ร่วมกับการใช้พลาสติกคลุมดินและเทปน้ำหยด
2. การจัดทำโรงเรือนปลูกพริกโดยใช้วัสดุที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
3. การผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืชสมุนไพร ในการควบคุมโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของพริก
Impact Level
Local
Impact
1. ทางสังคม สมาชิกในกลุ่มมีการเกื้อกูลกัน โดยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเตรียมแปลงปลูกของสมาชิกภายในกลุ่ม
2. ทางเศรษฐกิจ มีรายได้จากการปลูกและจำหน่ายพริกสดในช่วงฤดูฝน โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 14 ครัวเรือนมีรายได้จากการขายพริกสดเฉลี่ย 18000 บาท/ครัวเรือน 
Division

วิทยาศาสตร์

Reporter

UBRU

2023-11-03 07:13:11