SDG Info

13

Project

7

Division

การพัฒนาระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Targets and Indicators
Targets Indicator Result
1.4 Community anti-poverty programmes 1.4.3 Programmes for services access
ด้านผลผลิต (Output) 
เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ได้พัฒนาทักษะและการเรียนรู้จากการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์
ด้านผลลัพธ์ (Outcome) 
เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ได้นำทักษะและการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้งานจริงในระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งกับแปลงสาธิต ซึ่งเป็นการบูรณาความรู้ที่ได้จากการการเรียนการสอนและการวิจัย เข้าไปบริการวิชาการให้กับชุมชน
Caveat
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์ในตำบลบุ่งไหม จัดตั้งอยู่ที่ ศรีบุญมาฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้เศษฐกิจพอเพียง หมู่ 6  ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมาชิกจำนวน 30 ราย ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มนี้มีเป้าหมายให้สมาชิกปลูกผักอินทรีย์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ทางกลุ่มได้พยายามส่งเสริมให้สมาชิกทุกรายในกลุ่มปลูกผักอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประสบปัญหาในการผลิตผักอินทรีย์ไม่เพียงพอส่งลูกค้า เนื่องจากผลิตยังใช้แรงงานตนเอง ผลิตผักอินทรีย์ได้น้อย โดยเฉพาะการรดน้ำที่คงยังใช้สายยางรดน้ำด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานทำให้ไม่สามารถดูแลแปลงผักจำนวนมากได้ หรือไม่สามารถทำงานอย่างอื่นได้ กลุ่มจึงมีความต้องการที่จะยกระดับการผลิตผักอินทรีย์ให้ได้มากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อลดการใช้แรงงานและเพิ่มความสามารถของเกษตรกรในกลุ่มและยังเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องของตลาด
ประเด็น pain point ในการพัฒนา
เกษตรกรประสบปัญหาการรดน้ำยังใช้วิธีรดน้ำด้วยตัวเอง ทำให้ใช้เวลานาน ซึ่งหากมีจำนวนแปลงผักอินทรีย์มากทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้ผลิตผักอินทรีย์ได้น้อยไม่เพียงพอส่งลูกค้า ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการควบคุมการรดน้ำในแปลงผักอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อลดเวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในกระบวนการการผลิต ซึ่งจะยังช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลแปลงผักอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง 
Process
1.จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม"
2.การพัฒนาระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
3.จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "การติดตั้งและวิธีการใช้งานระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
4.จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "การผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์ด้วยแนวคิดเกษตรสมัยใหม่"
Impact Level
Local
Impact
ผลลัพธ์เชิงสังคม
ช่วยส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์ให้กับเกษตรกร ซึ่งระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง จะช่วยทำการดูแลรดน้ำและควบคุมความชื้นในแปลงผักอินทรีย์แบบอัตโนมัติ ช่วยลดเวลาและการใช้แรงงาน จากเดิมเกษตรกรต้องทำงานเฉลี่ยวันละ ๕ ชม. เหลือเพียงวันละ ๓ ชม. ทำให้เกษตรมีเวลาว่างไปทำอย่างอื่นๆ มากขึ้น และเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เกษตรกรในการจัดการและดูแลระบบการเพาะปลูกผักอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ
ระบบเพาะปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ช่วยทำการดูแลรดน้ำและควบคุมความชื้นในแปลงผักอินทรีย์แบบอัตโนมัติ ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตของการเพาะปลูกผักอินทรีย์ได้  จากเดิมจำนวนเพาะปลูกผักอินทรีย์ 8 แปลง เมื่อลดเวลาการทำงาน เกษตรกรมีเวลาเพิ่มขึ้นในการดูแลแปลงผักอินทรีย์ ซึ่งผลทำเกษตรกรเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น ๑๑ แปลง ทำให้รายได้ของเกษตรเพิ่มขึ้น 37%
Division

วิทยาการคอมพิวเตอร์

Reporter

UBRU

2023-11-11 15:55:06