SDG Info 2024 2023 2022

10

Project

6

Division

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนของคนในชุมชน จึงได้จัดโครงการขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนด้วยส่งเสริมการประกอบอาชีพ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นกับสถานศึกษา โดยมีนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อพัฒนาการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก โดยการเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพิ่มทักษะการทำงานในศตรวรรษที่ 21

บริหารธุรกิจและการจัดการ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ดำเนินพันธกิจด้านการบริการวิชาการ การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น และส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เชิงรุก โดยกำหนดชุมชนหรือหมู่บ้านเป้าหมายในการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยในปัจจุบัน พบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ คุณภาพ มาตรฐาน รูปลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากยังไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดได้ ดังนั้น ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นได้รับ การพัฒนาและยกระดับ จึงจำเป็นต้องจัดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นอันจะเป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาเข้าสู่ตลาดธุรกิจ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนขามเปี้ย ชุมชนโพนเมือง และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับสินค้าการเกษตร เพื่อให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ขจัดความยากจนของครัวเรือนในชุมชน เพิ่มรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรในท้องถิ่น

บริหารธุรกิจและการจัดการ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ดำเนินพันธกิจด้านการบริการวิชาการ การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น และส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เชิงรุก โดยกำหนดชุมชนหรือหมู่บ้านเป้าหมายในการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยในปัจจุบัน พบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ คุณภาพ มาตรฐาน รูปลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากยังไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดได้ ดังนั้น ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นได้รับ การพัฒนาและยกระดับ จึงจำเป็นต้องจัดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) การพัฒนาอาชีพ การจัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การยื่นภาษี แผนด้านการตลาด การต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน การจำหน่ายสินค้า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจำหน่ายสินค้า และการพัฒนาชุมชน สู่การเป็นหมู่บ้านในฝัน 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ขจัดความยากจนของครัวเรือนในชุมชน เพิ่มรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรในท้องถิ่น

บริหารธุรกิจและการจัดการ

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เชิงรุก โดยกำหนดชุมชนหรือหมู่บ้านเป้าหมายในการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยในปัจจุบัน พบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ คุณภาพ มาตรฐาน รูปลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากยังไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดได้ ดังนั้น ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นได้รับ การพัฒนาและยกระดับ จึงจำเป็นต้องจัดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นอันจะเป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาเข้าสู่ตลาดธุรกิจ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวน 34 ตำบล และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง 34 ตำบล กระตุ้นให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ขจัดความยากจนของครัวเรือนในชุมชน เพิ่มรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น

บริหารธุรกิจและการจัดการ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงานตามโครงการการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีและเหมาะสมภายใต้บริบทของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การลงพื้นที่ ณ บ้านหนองบัวแดง ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อแลกเปลี่ยนรู้กับชุมชนบ้านหนองบัวแดงปัญหาหลักของผลิตภัณฑ์ชุมชนคือเรื่องของมาตรฐานหรือการรับรอง ถึงแม้ว่าสินค้าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือมีคุณค่ามากก็ตาม แต่ถ้าไม่มีใบรับรองคุณภาพก็จะจำหน่ายสินค้าได้ในวงจำกัดเท่านั้น การรับรองคุณภาพในระดับต่าง ๆ มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับว่าจะเป็นมาตรฐานระดับใด ดังนั้นการยกระดับสินค้าชุมชนจะสามารถช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการในชุมชนที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ให้มีศักยภาพ มาตรฐานที่สังคมยอมรับสามารถแข่งขันได้ และสามารถยกระดับให้ธุรกิจมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บ้านหนองจำนัก ต.โคกก่อง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับที่ 1 ซึ่งเป็น 1 ใน 30 หมู่บ้านยากจนของจังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูลจาก กชช.2ค เมื่อปี พ.ศ. 2560) ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี (2562-2564) การดำเนินงานในปีที่ 3 (2564) มีการส่งเสริมและสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ ในการปรับปรุงอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ในรูปแบบที่ไม่ใช้ตัวเงิน (In-kind) เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเห็ด ซึ่งการเพาะเห็ดถือเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งของคนในชุมชน

วิทยาศาสตร์

บ้านบัวท่า ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาของคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีการส่งเสริมและสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ ในการสร้างโรงเรือนอัจฉริยะควบคุมการเพาะปลูกดอกไม้ในรูปแบบที่ไม่ใช้ตัวเงิน (In-kind) เพื่อใช้เป็นโรงเรือนสาธิตในศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้บ้านบัวท่า ซึ่งการปลูกดอกไม้ถือเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งของคนในชุมชน

วิทยาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นองค์กรที่สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้เสียในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมระดับปฐมภูมิอย่างมีมาตรฐานและบูรณาการการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของบุคลากรและนักศึกษา เพื่อการบริการวิชาการและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ โดยมีพันธกิจ ดังนี้ 1. ให้บริการด้านสุขภาพและการป้องกันรักษาในระดับปฐมภูมิแบบองค์รวมกับกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนและชุมชนในด้านความรู้ การสร้างความตระหนัก การป้องกันและดูแลสุขภาพรวมทั้ง 2. เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติสำหรับบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3. ให้บริการทางวิชาการและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพกับชุมชนท้องถิ่นในด้านสุขภาพแบบองค์รวมในระดับปฐมภูมิ 4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งประชาชนและชุมชน ท้องถิ่นในเขตบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนและมหาวิทยาลัย 5. พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายและเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีธรรมาภิบาล

สาธารณสุขศาสตร์

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 12 ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไข สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) รวมถึงการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย (พ.ศ. 2555 - 2559) ซึ่งมุ่งหวังให้ใช้เป็นแผนแม่บทในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการจัดการด้านอาหารในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ความมั่นคงด้านอาหาร คุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนและบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (เกษตรและสหกรณ์ 2560: 1) และในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการค้า ทำให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรเชิงเดี่ยวและทำเกษตรที่ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงทำให้เกษตรกรส่วนหนึ่งตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีการรวมกลุ่มทำการเกษตรแบบดั้งเดิม โดยใช้ต้นแบบของการพัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกษตรอินทรีย์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีศักยภาพในการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และส่งผลต่อความปลอดภัยกับสุขภาพ อีกทั้งตอบสนองต่อความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 - 2554 และได้มีการขยายเวลาของแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานไปถึงปี 2555 แต่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์มีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการเพื่อความยั่งยืน เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางการผลิตที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับกระแสโลกในปัจจุบัน การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติที่มีความสอดคล้องกับกรอบทิศทางการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรและการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 ในกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ได้มีการจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา เกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มพื้นที่และจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ เพิ่มสัดส่วนตลาดเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ รวมทั้งยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน นำไปสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย (เกษตรและสหกรณ์ 2560: ก-ข) มหาวิทยาลัยราชภัฏน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในการเป็น สถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ขึ้น ต่อมาได้มี การทบทวนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 โดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อยู่บนฐานความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน ตรงตามเจตนารมณ์ของแผนยุทธศาสตร์ บนพื้นฐานศักยภาพและบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สำหรับเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายใน ทั้งระดับบุคคล ระดับหลักสูตร ระดับคณะ หน่วยงานเทียบเท่าคณะได้น้อมนำศาสตร์พระราชา และพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมอบพระราโชบายด้านการศึกษา ผ่านองคมนตรี ใจความตอนหนึ่งว่า “ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำงานในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน โดยนำองค์ความรู้ พัฒนาท้องถิ่น สร้างคุณค่า ให้เกิดมูลค่า ลดความเหลื่อมล้ำ” มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และเกิดเป็นรูปธรรม ตำบลหนองนกทาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนหมู่บ้านในปัจจุบันทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ห่างจากอำเภอเขมราฐ เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูงซึ่งส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ มีลำห้วยไหลผ่านหลายสาย เช่น ลำห้วยบังโกย ห้วยหว้า ห้วยกอย เป็นต้น ซึ่งลำห้วยเหล่านี้เป็นเสมือนสายเลือดหลักของการทำการเกษตร เพราะหลังฤดูทำนาจะมีการปลูกผักและใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้แทบทั้งหมด มีแนวภูเขากั้นพรมแดนกับเทศบาลตำบลขามป้อม คือ ภูสมสร้าง ภูเขากั้นพรมแดนกับเทศบาลตำบลเขมราฐ คือ ภูอ่าง พื้นที่ทั้งหมด 48.48 ตารางกิโลเมตร จำนวนเนื้อที่ 30,300 ไร่ พื้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ใช้ทำการเกษตร เหลืออีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์และที่อยู่อาศัยตำบลหนองนกทามีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 1,859 ครัวเรือน แบ่งเป็นหมู่ที่ 1 บ้านหนองนกทา จำนวน 189 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านนาสะแบง จำนวน 133 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 บ้านนายูง จำนวน 234 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านป่าติ้ว จำนวน 106 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านโนนสูง จำนวน 225 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 บ้านหนองแฝก จำนวน 101 ครัวเรือน หมู่ที่ 7 บ้านโนนศิลา จำนวน 111 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 บ้านคำหมากไหลจำนวน 161ครัวเรือน หมู่ที่ 9 บ้านหลักเขต จำนวน 152 ครัวเรือน หมู่ที่ 10 บ้านคึมพอก จำนวน 96 ครัวเรือน หมู่ที่ 11 บ้านคำสง่า จำนวน 143 ครัวเรือน หมู่ที่ 12 บ้านเภาชมพู จำนวน 108 ครัวเรือน หมู่ที่ 13 บ้านโนนอนามัยจำนวน 98 ครัวเรือน (ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลตำบลหนองนกทา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี, 2560) การดำเนินงานโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับคุณภาพสินค้าจากข้าว ข้าวโพดและผักอินทรีย์ เพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา ตำบลหนองนกทา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และนอกจากนี้ ยังได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนบริเวณตำบลหนองนกทา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันภายในท้องถิ่น เพื่อที่จะสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเกษตรและอาหารของชุมชนให้รับการรักษาไว้ในท้องถิ่นโดยใช้การเรียนรู้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เข้ามาช่วยระหว่างผู้ดำเนินโครงการ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลหนองนกทา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจะส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยพัฒนาอาชีพให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต โครงการนี้นับเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้า ส่งผลให้ชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการเกษตรและอาหารท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่ออาชีพและรายได้ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรผู้มีอาชีพเลี้ยงสัตว์อีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากเศษวัสดุทางการเกษตรที่นำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเป็นอาหารสัตว์

เกษตรศาสตร์