SDG Info 2024 2023 2022

6

Project

3

Division

คนในชุมชนร้อยละ 73 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2564 การปลูกมันสำปะหลังซึ่งถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้หลักของคนในชุมชน เกิดการเน่าเสียเนื่องจากการจัดการแปลงที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับต้นทุนด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ท่อนพันธุ์ มีราคาสูงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน

วิทยาศาสตร์

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวนิคมการเกษตรบูรณาการ ต.คำพระ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ประกอบด้วยสมาชิก 226 คน จาก 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, 10, และ 11 ในรอบปีการผลิต 2564 กลุ่มมีผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์กว่า 674 ตัน/ปี สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด ในการผลิตเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์จำนวน 150 ตัน/ปี ในราคากิโลกรัมละ 17 บาท จำหน่ายให้กับกลุ่มจังหวัดเพื่อนำไปแปรรูปเป็นข้าวสารปริมาณ 50 ตัน/ปี ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ผลผลิตส่วนที่เหลือ 474 ตัน/ปี ที่เป็นข้าวอินทรีย์ขายได้เท่ากับราคาในราคา ท้องตลาด กิโลกรัมละ 8 - 10 บาท

วิทยาศาสตร์

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวิสัยทัศน์ (Vision) การดำเนินการ คือ คณะเกษตรศาสตร์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาทางการเกษตรและอาหาร เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีเอกลักษณ์ (Uniqueness) คือ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา นำพาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีพันธกิจที่สำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับการบริการวิชาการเพื่อเรียนรู้และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคณะ มหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน โดยทางคณะฯ ได้มีการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของโครงการฟาร์มเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลง กรณี ในพื้นที่อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านยางน้อย ต. ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ สวนยางพารา ด้านปศุสัตว์ เช่น ไก่ไข่ สุกร โคนม โรงแปรรูปนม และการ เลี้ยงกระบือ ทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้คณะฯ ยังให้ความสำคัญในด้านการ ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามพันธกิจที่กล่าวมานั้น คณะเกษตรศาสตร์ได้มีการดำเนินการในรูปแบบ การให้บริการวิชาการหลายๆ แบบ ได้แก่ การประชุมเชิงวิชาการ การฝึกอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา การเสวนา การฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี การให้บริการข้อมูล การเผยแพร่ ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นเป็น ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และการประกันคุณภาพภายในระดับคณะและหลักสูตร เพื่อ ก่อให้เกิดการพัฒนาอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักศึกษา ตลอดจนการพัฒนาองค์กร พัฒนา ความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วเผยแพร่องค์ความรู้จากการร่วมมือกันให้กับหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ เป็นการบูรณาการทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน หรือท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้ จากวัตถุประสงค์หลักของโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพตามศาสตร์พระราชา (Flagship Project) เพื่อสร้างยกระดับการดำเนินการทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินการให้ กลุ่มเกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทำให้ทางคณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการของ ท้องถิ่น พบว่ากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา ตำบลหนองบัวฮี มีการเลี้ยงปลา เป็นอาชีพเสริมจากการเพาะปลูกพืช เนื่องจากพื้นที่ตำบลหนองบัวฮี มีน้ำตลอดทั้งปี เหมาะแก่การ เพาะเลี้ยงปลามาก ในแต่ละปีจะมีผลผลิตสูง สามารถแปรรูปเป็นปลาส้มเพื่อขายในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ปลาส้มก็ยังมีปัญหาในกระบวนการหมัก เนื่องจากในบางครั้งปลาส้มที่ ผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว ยังไม่มีการขายออกไปเป็นระยะเวลานาน ก็จะส่งผลให้เกิดการหมักต่อไปในระหว่างการเก็บรักษา ทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติเปรี้ยวเกินความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มเกษตรกรฯ จึงไม่ สามารถที่จะผลิตปลาส้มในแต่ละรอบในปริมาณที่มากได้ จะต้องรอการสั่งซื้อจากลูกค้าติดต่อมาก่อน ปัญหานี้ จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้ม พยายามคิดค้น หาวิธีการเพื่อลดการเสื่อม เสียของผลิตภัณฑ์ และลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ตลอดจนทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี สม่ำเสมอ และปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถนำไปสู่การขยายตลาดระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างพลังการเรียนรู้ การแปรรูปปลาส้มผงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ภายใต้บริบทที่เหมาะสม และเป็นไปตามความต้องการของชุมชน 2) เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ 3) เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในด้านการผลิต การตลาด และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) เพื่อสร้าง กระบวนการการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในการสร้างอาชีพ สร้าง รายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น โดยมีประเด็นเร่งด่วนที่ควรส่งเสริม คือ การแปรรูปปลาส้มผงโรยข้าว และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ดังนั้นทางคณะเกษตรศาสตร์จึงการจัดทำโครงการเพื่อดำเนินการจัด อบรมเชิงปฏิบัติการตามความต้องการพัฒนาความรู้ของชุมชนของตำบลหนองบัวฮี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และโรงเรียนมัธยมศึกษาในตำบล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ พัฒนาคนและเยาวชนในท้องถิ่น ร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ท้องถิ่น ส่งเสริม อาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนและ งานวิจัยของคณะฯ เป็นการเสริมสร้างทักษะการท างานร่วมกันเป็นกลุ่มระหว่างคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอก อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คณะเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีต่อไป

เกษตรศาสตร์

กลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกผักปลอดภัยบ้านยางเครือ ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เกิดจาการรวมตัวกันของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่ อ.ม่วงสามสิบ เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดงและตระการพืชผล จำนวนกว่า 30 ราย และต้องการความมั่นคงทางต้นน้ำในด้านการป้องกันศัตรูพืชที่เป็นสารชีวภัณฑ์ที่กลุ่มสามารถบริหารจัดการได้เองอย่างยั่งยืน

วิทยาศาสตร์