SDG Info 2024 2023 2022

16

Project

8

Division

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ ตระหนัก และกระตุ้นให้ประชาชนไม่ตกเป็น เหยื่อของข่าวสารข้อมูลที่เป็นเท็จ

วิทยาการคอมพิวเตอร์

คณะเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งมีความถนัดและความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอาหารและธุรกิจการเกษตร ดังนั้นคณะเกษตรศาสตร์จึงให้คำปรึกษา จัดการอบรม อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และการตลาดธุรกิจการเกษตรในพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ สู่การเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

เกษตรศาสตร์

พื้นที่ศึกษาตำบลจานลาน เป็นสังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ๑-๒ โรค ประชากรส่วนใหญ่ฐานะทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและยังไม่มีการวางแผนเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ แต่ยังมีต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบสำหรับนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ไม่มีวัตถุดิบที่เพียงพอในท้องถิ่น คณะพยาบาลศาสตร์จึงได้ดำเนินการโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน สุขภาวะในผู้สูงอายุ อาชีพ และการออมของประชาชน ยกระดับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนสู่การแข่งขันในท้องตลาด และพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

พยาบาลศาสตร์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีได้จัดทํารายงานผลการดําเนินงานโครงการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โรงเรียน ตชด. และโรงเรียนกองทุนการศึกษา ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ภายใต้แผนงาน แผนงานโครงการสําคัญ (Flagship project ) ที่เน้นการจัด การศึกษาเชิงพื้นที= (Area - based Education : ABE) ซึ่งเป็นการบูรณาการการทํางานของคณะครุศาสตร์ ใน ฐานะสถาบันผลิตครู และพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฎ ในฐานะการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Community : PLC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. โรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โรงเรียน ตชด. และโรงเรียนในกองทุนการศึกษา คือ คือโรงเรียนบ้าน โนนหนองบัว สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้ ทั้งระบบ 2. ผลสัมฤทธิทางด้านวิชาการและคุณลักษณะอันพึประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โรงเรียน ตชด. และโรงเรียนในกองทุนการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการคือโรงเรียนบ้านโนนหนองบัว อยู่ใน ระดับดี และมีพัฒนาการเพิ่มสูงขึ้น 3. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการเสริมทักษะในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

ครุศาสตร์

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่ประสบผลสำเร็จ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการดำเนินการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management : SBM) ถือว่าโรงเรียน เป็นองค์กร ที่Iมีความสำคัญในฐานะเป็นฟันเฟืองของการขับเคลืIอน นโยบายสู่การปฏิบัติในบริบทของสถานศึกษาในเขตบริการของ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ก็พบว่ายังคงเป็นเป้าหมายการ พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการ จัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้านการรู้ คณิตศาสตร์และการรู้วิทยาศาสตร์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการ ผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยี

ครุศาสตร์

โครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาและใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการศึกษา ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องทำงานในโรงเรียนขนาดเล็กให้สามารถ ออกแบบและวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงในยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด มีทักษะสำหรับการ บริหารจัดการงานวิชาการในชั้นเรียน และสร้างทักษะใหม่ที่จําเป็นต่อการทำงาน ตามบริบทโรงเรียนและชุมชน สามารถพัฒนาควบคู่กับระบบการประเมินวิทยฐานะ ดิจิทัล โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ บริการหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และพื้นที่ใกล้เคียง ตามภารกิจของมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น

ครุศาสตร์